วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ขยายผลอบรม สคบศ

การอบรม : หลักสูตรเทคนิคการจัดการเรียนรู้ การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบBackward Design และนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน
ระหว่างวันที่ : 2-3 สิงหาคม 2551
สถานที่ : ห้องประชุมพุทธรักษา สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
วิทยากร : ดร. กาญจนา วัฒายุ
จากการเข้าร่วมอบรม ท่านวิทยากรได้ให้ความอนุเคราะห์สาระความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างมากมายสำหรับการพัฒนาการเรียนการสอน โดยเฉพาะเรื่องการวางแผนและการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ การนำผลการวิจัยไปพัฒนาการเรียนการสอน การจัดทำนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ... โอกาสนี้ขอนำเสนอสาระความรู้จากการอบรมโดยย่อ ดังนี้
รายงานผลการอบรม
หลักสูตรเทคนิคการจัดการเรียนรู้ การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบBackward Design และนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน
**************************************************************

การบรม : หลักสูตรเทคนิคการจัดการเรียนรู้ การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ
Backward Design และนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน
ระหว่างวันที่ : 2-3 สิงหาคม 2551
สถานที่ : ห้องประชุมพุทธรักษา สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากร
ทางการศึกษา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ผู้เข้าร่วมอบรม : ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาจากสถานศึกษาทั่วประเทศ
ที่สมัครเข้ารับการอบรม
หน่วยงานที่จัด : สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากร
ทางการศึกษา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ค่าใช้จ่าย : -
ประโยชน์ที่ได้รับ : มีความรู้เกี่ยวกับ
- การวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อวางแผนการจัดการเรียนรู้
- เทคนิคการเขียนแผนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด
- เทคนิคการสอนแบบต่าง ๆ ที่เน้นกระบวนการคิดและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- การสร้างนวัตกรรมสื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้และตรวจสอบประสิทธิภาพสื่อ
- การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design
- การนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
- การใช้ค่าสถิติต่าง ๆ ในการวิจัย
- การเขียนกิจกรรมเสนอแนะและการบันทึกหลังสอนในแผนการเรียนรู้
ปัญหาและอุปสรรค : -
ข้อเสนอแนะ : การจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 มุ่งเน้นความสำคัญทั้งด้านการพัฒนาความรู้ ความคิด ความสามารถ คุณธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด คือ การยึดหลักที่ว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และได้รับการพัฒนาตามธรรมชาติอย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้นการจัดการเรียนรู้จึงควรต้องมีกระบวนการและวิธีการที่หลากหลาย มุ่งเน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การค้นคว้า แสวงหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ฯลฯ
เพื่อให้การจัดการเรียนรู้บรรลุผลตามความมุ่งหวังของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ครูผู้สอนจึงควรได้รับการพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อวางแผนการจัดการเรียนรู้และเทคนิคการเขียนแผนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด เทคนิคการสอนแบบต่าง ๆ ที่เน้นกระบวนการคิดและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การสร้างนวัตกรรมสื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้และตรวจสอบประสิทธิภาพสื่อ การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design การนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน การใช้ค่าสถิติ ต่าง ๆ ในการวิจัย การเขียนกิจกรรมเสนอแนะและการบันทึกหลังสอนในแผนการเรียนรู้

การนำไปใช้กับการเรียนการสอน :
- การวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อวางแผนการจัดการเรียนรู้และเทคนิคการเขียนแผนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด
- เทคนิคการสอนแบบต่าง ๆ ที่เน้นกระบวนการคิดและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- การสร้างนวัตกรรมสื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้และตรวจสอบประสิทธิภาพสื่อ
- การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design
- การนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
- การใช้ค่าสถิติต่าง ๆ ในการวิจัย
- การเขียนกิจกรรมเสนอแนะและการบันทึกหลังสอนในแผนการเรียนรู้
สาระความรู้ที่น่าสนใจ (เขียนได้มากกว่า 1 หัวข้อ)
รูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ ดังนี้
1. มาตรฐานการเรียนรู้
2. สาระการเรียนรู้
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
4. เนื้อหาสาระ
5. กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีสอน)
6. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
7. กระบวนการวัดและประเมินผล
8. กิจกรรมเสนอแนะ
9. บันทึกผลหลังสอน
คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพประกอบด้วย
1. คุณภาพการวางแผน
2. คุณภาพการเตรียมการสอน
3. คุณภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้
4. คุณภาพการจัดสื่อและแหล่งการเรียนรู้
5. คุณภาพการวัดและประเมินผล
คุณภาพการวางแผน
1. วิเคราะห์หลักสูตร หมายถึง การจำแนกแยกแยะส่วนประกอบของหลักสูตรเพื่อค้นหาว่าในแต่ละรายวิชานั้นมีมาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอะไรบ้าง มีองค์ความรู้ ทักษะการเรียนรู้ และเจตคติอะไรบ้างที่จะเกิดกับผู้เรียน
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพดีต้องเขียนโดยผู้สอนและมีหลักฐานร่องรอย ดังนี้
1. มีหลักฐานร่องรอยที่แสดงว่ามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์หลักสูตร
2. การวิเคราะห์หลักสูตรต้องสอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของผู้เรียน
3. นำผลการวิเคราะห์หลักสูตรไปจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและหน่วยการเรียนรู้ จะได้มาซึ่งจุดประสงค์ปลายทางของหน่วยการเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทางเป็นจุดประสงค์ที่บอกถึงผลรวมของความปรารถนา หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนทุกคนเมื่อผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ โดยมีลักษณะสำคัญ คือ
1. ครอบคลุมผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่กำหนดไว้ในคำอธิบายรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้
2. ชี้ให้เห็นคุณสมบัติที่พึงปรารถนาของผู้เรียนอันเป็นผลจากการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้
3. จุดประสงค์ปลายทางเป็นผลที่เกิดจากการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังร่วมกับสาระการเรียนรู้ (หน่วยการเรียนรู้)
ขั้นที่ 3 กำหนดจุดประสงค์นำทาง ซึ่งเป็นจุดประสงค์ที่แยกย่อยจากจุดประสงค์นักเรียนเกิดการเรียนรู้ครบทุกจุดประสงค์นำทางแล้วจะทำให้บรรลุจุดประสงค์ปลายทางได้ จุดประสงค์นำทางบ่งชี้ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 3 ด้าน ได้แก่ ความรู้ ทักษะ และเจตคติ
คำหลักหรือคำสำคัญในจุดประสงค์นำทาง
1) ด้านความรู้ ได้แก่คำ รู้จัก รู้จำ เข้าใจ วิเคราะห์ สังเคราะห์ บอก ระบุ สรุป เชื่อมโยง ประเมิน ตีความ เปรียบเทียบ วิจารณ์ คิดรวบยอด เป็นต้น
2) ด้านทักษะ ได้แก่คำ ปฏิบัติ แสดง สำรวจ นำเสนอ ตรวจสอบ ทดลอง สาธิต นำไปใช้ มีส่วนร่วม อภิปราย ประยุกต์ เป็นต้น
3) ด้านเจตคติ ได้แก่คำ ชื่นชม เห็นคุณค่า ภูมิใจ รัก ศรัทธา ซาบซึ้ง หวงแหน นิยม พึงพอใจ เห็นความสำคัญ เห็นประโยชน์ ยอมรับ เป็นต้น
การวิเคราะห์ผู้เรียน
การวิเคราะห์ผู้เรียนต้องมีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ซึ่งต้องนำไปวิเคราะห์เพื่อวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ และนำผลการวิเคราะห์ไปวางแผนการเรียนรู้ ดังนั้น ในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ในแต่ละหน่วยจึงต้อมีการทดสอบก่อนเรียนเสมอ
การวิเคราะห์เนื้อหา
เป็นการวิเคราะห์ว่า ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้จะต้องกำหนดเนื้อหาสาระในการเรียนรู้อะไร เนื้อหาสาระนี้ต้องมีความสัมพันธ์กับจุดประสงค์การเรียนรู้ เพราะเมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้ตามเนื้อหาสาระนั้น ๆ แล้ว ผู้เรียนจะต้องมีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามจุดประสงค์การเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ด้วย
การวิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนรู้
1. ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์นำทาง
2. จุดประสงค์นำทางเน้นความรู้หรือทักษะหรือเจตคติ
3. เลือกวิธีสอนไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ หรือทักษะ หรือเจตคติตามที่กำหนดไว้ในจุดประสงค์
การกำหนดสื่อที่ดี
1. ต้องสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
2. มีความหลากหลายและสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและความต้องการ สนใจ ของผู้เรียน
3. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้ การเลือก และจัดหา
4. เป็นความคิด/วิธีการ/สิ่งประดิษฐ์ใหม่
5. ผ่านการทดลองและพัฒนาอย่างเป็นระบบ
6. ใช้ปรับปรุงการเรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนรู้
การวิเคราะห์การวัดและประเมินผล
1. ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์นำทาง
2. กำหนดเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจน
3. ครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ และเจตคติ
4. มีวิธีการวัดและประเมินที่หลากหลาย
5. ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการประเมิน
6. นำผลที่ได้จากการวัดและประเมินผลไปสู่กระบวนการวิเคราะห์วิจัย
7. นำผลการวิจัยไปพัฒนาการเรียนรู้

สาระสำคัญอื่น ๆ ที่น่าสนใจและมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
1. การเขียนกิจกรรมเสนอแนะและบันทึกหลังสอน
นำผลที่ได้จากการจัดการเรียนการสอนในแต่ละหน่วยมาพิจารณาค่า S.D. ถ้ามีการกระจายมาก (สูงมาก) นำมาเขียนกิจกรรมเสนอแนะ แล้วดำเนินการสอนใหม่ สอบใหม่ จากนั้นจึงนำผลที่ได้มาเขียนบันทึกหลังสอน โดยพิจารณา
1. ถ้าค่าเฉลี่ยของคะแนนต่ำ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนสูง ให้พัฒนาเฉพาะนักเรียนที่เรียนอ่อน
2. ถ้าค่าเฉลี่ยของคะแนนต่ำ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนต่ำ ให้พัฒนานักเรียนทั้งห้อง
คุณภาพของการสอนที่ดีนั้น ค่าเฉลี่ยของคะแนนสูง (ในระดับที่พอใจ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนต่ำ ยิ่งใกล้ 0 เท่าไรยิ่งดี
2. การหาคุณภาพของการสอน
นอกจากการพิจารณาที่ผลอันเกิดจากการจัดการเรียนการสอนโดยดูที่ผลการเรียนของนักเรียนแล้ว ครูผู้สอนควรพิจารณาคุณภาพการสอนของตนเอง เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าผู้สอนได้ดำเนินการสอนอย่างมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ โดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (C.V.) หลังเรียนในแต่ละหน่วย
การตรวจสอบประสิทธิภาพการสอน หมายถึง การประเมินความสามารถในการสอน โดยประเมินคุณภาพการสอนหรือคุณภาพของผู้เรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้หรือตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนด
ถ้า ค่า C.V. ต่ำกว่า 10% คุณภาพการสอนดี
ถ้า ค่า C.V. ระหว่าง 10-15% คุณภาพการสอนปานกลาง
ถ้า ค่า C.V. สูงกว่า 15% คุณภาพการสอนต้องปรับปรุง
***กรณีที่ทำผลงานทางวิชาการ คุณภาพการสอนต้องอยู่ในระดับ ดี และ ค่า C.V ที่สูงกว่า 10% ต้องเขียนในกิจกรรมเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน แล้วจึงนำผลที่ได้ไปเขียนในบันทึกหลังสอน***
การวิเคราะห์ผลใน 1 หน่วยการเรียนรู้
1. หาค่า ( ), S.D. และ C.V. ทีละแผน
2. หาค่า ( ), S.D. และ C.V. ในหน่วยการเรียนรู้
ความสัมพันธ์ระหว่าง ( ), S.D. และ C.V.
· ค่า C.V. ต่ำกว่า 10% แสดงว่าคุณภาพการสอนดี
· แต่ C.V. จะต่ำได้ ( ) ต้องสูง (ในระดับที่พอใจ) และ S.D. ต้องต่ำ (ยิ่งใกล้ 0 ยิ่งดี)
· แต่การที่ S.D. จะต่ำได้ ครูต้องพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ใกล้เคียงกัน

จากค่า C.V. ที่ต้องปรับปรุง จะปรับปรุงอย่างไร
- ไปดูที่คะแนนดิบหลังเรียนเพื่อค้นหาว่ามีนักเรียนคนใดที่ยังมีคะแนนต่ำมาก (เด็กอ่อน)
- ดำเนินการแก้ปัญหา ปรับปรุงและส่งเสริมให้นักเรียนคนนั้นมีพัฒนาการที่ดีขึ้นโดยการสอนด้วยวิธีการ นวัตกรรมใหม่ และวัดผลใหม่เฉพาะกลุ่ม โดยใช้แบบวัดประเมินผลชุดเดิมเพื่อดูผลการพัฒนา
การนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
- ให้ดูค่า ( ) ว่าพอใจหรือไม่ ถ้าไม่พอใจต้องพัฒนาผู้เรียน
- จะพัฒนาอย่างไร ให้ดูที่ค่า S.D. ถ้า S.D. สูง ให้พัฒนาเฉพาะที่เรียนอ่อน โดยใช้นวัตกรรมใหม่ แล้วสอบใหม่เฉพาะกลุ่ม
- นำผลหลังการพัฒนามาหาค่า ( ) และ S.D. ใหม่
เมื่อพอใจแล้วจึงนำไปเขียนบันทึกหลังสอน
การเขียนบันทึกหลังสอน
ให้เขียนผลที่เกิดครั้งแรกก่อนแล้วบอกว่าพัฒนานักเรียนด้วยนวัตกรรมอะไร นักเรียนกี่คน เลขที่อะไรบ้าง แล้วจึงเขียนผลหลังการพัฒนา โดยแสดงค่า ( ), S.D. และ C.V.



ค่า t-test
ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียนเพื่อดูพัฒนาการของผู้เรียน
ค่า t-test จะนำเสนอในแผนสุดท้ายของหน่วยการเรียนรู้ เพราะการหาค่า t ได้ ต้องสอบหลังเรียน
กรณีที่ค่า t-test ไม่มีความแตกต่าง
เขียนกิจกรรมเสนอแนะ ต้องพัฒนาผู้เรียนทั้งห้อง โดยใช้นวัตกรรมใหม่ ให้ระบุว่าใช้นวัตกรรมอะไรในการพัฒนาผู้เรียน หลังจากพัฒนาแล้วทดสอบผู้เรียนใหม่ทั้งห้อง โดยใช้แบบทดสอบชุดเดิม แล้ววิเคราะห์ค่า ( ), S.D., C.V. และ t-test เมื่อได้ผลเป็นที่พอใจแล้วจึงบันทึกผลหลังสอน โดยบอกผลครั้งแรกและผลหลังการพัฒนา

**หมายเหตุ
ข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ที่น่าสนใจที่ไม่สามารถนำเสนอในเอกสารฉบับนี้ ท่านสามารถติดต่อสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการพัฒนาผลงานของท่าน เช่น
- การเขียนกิจกรรมเสนอแนะในแผนการจัดการเรียนรู้
- การเขียนบันทึกหลังสอนในแผนการจัดการเรียนรู้
-การใช้เครื่องคิดเลขในการคำนวณค่าสถิติที่จำเป็น ( ), S.D., C.V. และ t-test
- เกณฑ์การพิจารณาค่าสถิติ ( ), S.D., C.V. และ t-test
- ข้อมูลการเขียนรายงานที่จำเป็นในการทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
- ฯลฯ
โดยรายละเอียดต่าง ๆ ดังกล่าว พร้อมเอกสารประกอบการอบรมที่น่าสนใจ สามารถติดต่อสอบถามหรือศึกษาได้ที่บุคลากรที่เข้าร่วมการประชุมอบรม ได้แก่
1. อาจารย์วีณา กลอยกล่อม
2. อาจารย์พันธุ์พิศ ผิวตาลดี
3. อาจารย์วิไล รัตนากร
4. อาจารย์จรีวรรณ กาญจนเสมา
5. อาจารย์กาญจนา อาจมังกร
6. อาจารย์เฉลา นาบุญ

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ครูมืออาชีพ

คุณลักษณะของครูมืออาชีพ
A = Active กระตือรือร้น คล่องแคล่วว่องไว กล้าคิดกล้าตัดสินใจ ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ชอบฝึกฝนทดลองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ขยันขันแข็ง
T = Thinking นักคิด ชอบใช้สติปัญญา ชอบการเรียนรู้ชอบหาประสบการณ์ มีเหตุผลยึดมั่นในหลักการ ฏเกณฑ์กติกา มีระเบียบมีวินัย
C = Careful สุขุมรอบคอบ อดทน เยือกเย็น มีสมาธิ
H = Human Relation) มีไมตรีจิต เอื้อเฝื่อแผ่

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การเตรียมทำผลงานทางวิชาการ (ประเมินด้านที่ 3)

เตรียมทำและรายงานผลงานทางวิชาการ เพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

สิ่งแรกที่ควรทำ
1. ตัดสิน ใจและตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่าจะทำนวัตกรรมอะไรและในหน่วยการเรียนเรื่องใด
2. ติดต่อบุคลากรที่เราต้องการให้เป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจเอกสารและอ่านงาน ซึ่งควรให้ตรงกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ของเรา อย่างน้อย 1 คน
3. ออกหนังสือจากโรงเรียนเพื่อเชิญบุคลากรเป็นผู้เชี่ยวชาญ (เอาวันที่ไว้แต่เนิ่น ๆ )

สิ่งที่ต้องรีบดำเนินการ
เกี่ยวกับนวัตกรรม
1. ตัดสิน ใจและตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่าจะทำนวัตกรรมอะไรและในหน่วยการเรียนเรื่องใด
2. ออกแบบนวัตกรรม (ฉบับร่าง)
3. ปรับแผนการจัดการเรียนรู้ในหน่วยนั้น ๆ ให้สอดคล้องกับนวัตกรรม
4. นำนวัตกรรมเสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3-5 ท่าน ตรวจสอบและประเมินคุณภาพนวัตกรรม
5. ปรับแก้นวัตกรรมตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
6. นำไปทดลองใช้ ครั้งที่ 1 / ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 เพื่อสรุปหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม
7. นำไปใช้จริงเพื่อเขียนรายงานผลการใช้นวัตกรรม

เกี่ยวกับแบบทดสอบวัดผล (สำหรับรายงาน)
1. ออกข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ครอบคลุมหน่วยที่จัดทำนวัตกรรม ออกให้เกินกว่าจำนวนข้อสอบที่ใช้จริง เช่น ถ้าจะใช้ข้อสอบ 20 ข้อ ควรออกข้อสอบไว้ 30 ข้อ เผื่อตัดข้อสอบที่ไม่มีประสิทธิภาพทั้งไป
2. นำข้อสอบไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพ (IOC) แล้วแก้ไขตามข้อเสนอแนะ
3. นำข้อสอบชุดเดิมไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มรายงานผล ลองทำ เพื่อหาคุณภาพของข้อสอบด้านความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ ข้อที่ยากหรือง่ายไปและไม่สามารถจำแนกได้ต้องตัดทิ้ง
4. นำข้อสอบจากขั้นตอนที่ 3 ไปหาค่าประสิทธิภาพของข้อสอบทั้งฉบับ
5. จากข้อ 1-4 จะได้ข้อสอบฉบับที่มีประสิทธิภาพ นำไปใช้กับนักเรียนกลุ่มที่เราจะรายงานผลการใช้
5.1 ข้อสอบฉบับที่ 1 เป็นข้อสอบก่อนใช้นวัตกรรม
5.2 ข้อสอบฉบับที่ 2 เป็นข้อสอบหลังการใช้นวัตกรรม (ปรับจาก 5.1 โดยการสลับข้อ/สลับตัวเลือก)

การละเล่นของไทย

REE-REE KHAO SARN
( TO BE TRAPPED BETWEEN THE ARCHES )
NUMBER OF PLAYERS : UNLIMITED
HOW TO PLAY : Draw lots for 2 players to play arches. Both players extend their arms forward above their heads to from a double arches. The rest stand in line holding on their respective friends’ shoulders. They walk slowly through the arch-way while the 2 human arches singing a chorus. The leader leads the line and makes a U-turn behind the arch, his team mates follow suit continuously as long as the chorus is still sung. They can make U-turn at alternate side at will. Immediately when the chorus ends, the arches are suddenly lowered to trap the players in between. The trapped persons are then out. The game continues until the last one is trapped out.

Ree Ree Khao San รีรีข้าวสาร
Song Tanane Khao Pleuk สองทะนานข้าวเปลือก
Luek Thong Bai Lane เลือกท้องใบลาน
Kep Bia Tai Thoon Rane เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
Khode Khao Sai Jane คดข้าวใส่จาน
Pane Aou Khon Khang Lang Wai พานเอาคนข้างหลังไว้










เผยแพร่สาระความรู้